การรักษาความปลอดภัยอีเมลคืออะไร
การรักษาความปลอดภัยอีเมลให้การป้องกันภัยคุกคาม เช่น การละเมิดอีเมลระดับธุรกิจและฟิชชิ่ง เรียนรู้วิธีการรักษาความปลอดภัยอีเมลและสภาพแวดล้อมของคุณ
คำจำกัดความการรักษาความปลอดภัยอีเมล
การรักษาความปลอดภัยอีเมลคือแนวทางปฏิบัติในการปกป้องบัญชีอีเมลและการติดต่อสื่อสารจากการเข้าถึงที่ไม่ได้รับอนุญาต การสูญหาย และการละเมิด องค์กรสามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้กับเสถียรภาพการรักษาความปลอดภัยอีเมลได้โดยการกำหนดนโยบายและใช้เครื่องมือเพื่อป้องกันภัยคุกคามที่เป็นอันตราย เช่น มัลแวร์ สแปม และการโจมตีฟิชชิ่ง อาชญากรไซเบอร์พุ่งเป้าไปที่อีเมล เนื่องจากเป็นจุดเข้าใช้งานบัญชีและอุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้ได้ง่าย และส่วนใหญ่ก็อาศัยความผิดพลาดของมนุษย์ เพียงคลิกพลาดครั้งเดียวก็ทำให้เกิดวิกฤตด้านความปลอดภัยสำหรับทั้งองค์กร
ทำไมการรักษาความปลอดภัยอีเมลจึงสำคัญ
อีเมลเป็นเครื่องมือการติดต่อสื่อสารหลักในที่ทำงานมานานกว่าสองทศวรรษแล้ว มีการส่งและรับอีเมลมากกว่า 333 พันล้านฉบับทุกวันทั่วโลก และพนักงานจะได้รับอีเมลเฉลี่ย 120 ฉบับในแต่ละวัน นี่เป็นโอกาสในอาชญากรไซเบอร์ที่ใช้การโจมตีละเมิดอีเมลระดับธุรกิจ มัลแวร์ แคมเปญฟิชชิ่ง และวิธีการอื่นๆ ในการขโมยข้อมูลอันมีค่าจากธุรกิจ การโจมตีทางไซเบอร์ส่วนใหญ่ 94% เริ่มต้นจากอีเมลที่เป็นอันตราย อาชญากรรมไซเบอร์สร้างความเสียหายมากกว่า USD$4.1 พันล้านในปี 2020 โดยที่การละเมิดอีเมลระดับธุรกิจก่อให้เกิดความเสียหายมากที่สุด ตามข้อมูลจาก Internet Crime Complaint Center (IC3) ของ FBI ผลที่ตามมาอาจร้ายแรง ซึ่งนำไปสู่การสูญเสียทางการเงิน ข้อมูล และชื่อเสียงอย่างมีนัยสำคัญ
ประโยชน์ของการรักษาความปลอดภัยอีเมล
ธุรกิจทุกขนาดตระหนักถึงความสำคัญของการให้ความสำคัญกับการรักษาความปลอดภัยอีเมล โซลูชันการรักษาความปลอดภัยอีเมลที่ปกป้องการติดต่อสื่อสารของพนักงานและลดภัยคุกคามทางไซเบอร์มีความสำคัญเนื่องจากช่วย:
- ปกป้องแบรนด์ ชื่อเสียง และรายได้สุทธิของบริษัท ภัยคุกคามทางอีเมลอาจนำไปสู่การเสียค่าใช้จ่ายมหาศาล การหยุดชะงักของการดำเนินงาน และผลที่ตามมาที่ร้ายแรงอื่นๆ
- ปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน ด้วยโซลูชันการรักษาความปลอดภัยอีเมลที่มีประสิทธิภาพ ธุรกิจต่างๆ สามารถลดการหยุดชะงักของการดำเนินงานและเวลาหยุดทำงานที่อาจเกิดขึ้นจากการโจมตีทางไซเบอร์ โซลูชันที่มีประสิทธิภาพจะช่วยให้ทีมรักษาวามปลอดภัยตอบสนองได้ง่ายและรู้ทันภัยคุกคามที่ซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ
- รับรองการปฏิบัติตามกฎหมายการป้องกันข้อมูล เช่น ข้อบังคับทั่วไปเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูล (GDPR) และช่วยหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดจาก การโจมตีทางไซเบอร์ เช่น การหยุดชะงักของธุรกิจ ค่าธรรมเนียมทางกฎหมาย และค่าปรับตามข้อกำหนด
แนวทางปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยอีเมล
เพื่อตอบสนองต่อภัยคุกคามทางอีเมลที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว องค์กรได้กำหนดแนวทางปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยอีเมลเพื่อสนับสนุนการติดต่อสื่อสารและป้องกันภัยคุกคาม แนวทางปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยอีเมลยอดนิยม ได้แก่:
- ให้ความรู้แก่พนักงานด้วยการฝึกอบรมเป็นระยะเพื่อลดความเสี่ยงจากข้อผิดพลาดของมนุษย์ และทำให้มั่นใจว่าพนักงานซึ่งมักจะถือเป็นแนวป้องกันแรกของบริษัทนั้นเข้าใจถึงความสำคัญของการรักษาความปลอดภัยอีเมล
- ลงทุนกับการฝึกอบรมความตระหนักของผู้ใช้ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเรียนรู้วิธีการสังเกตสัญญาณของการโจมตีฟิชชิ่งและตัวบ่งชี้อื่นๆ ของจุดประสงค์มุ่งร้าย
- อัปเกรดโซลูชันการรักษาความปลอดภัยอีเมลที่มอบการป้องกันภัยคุกคามขั้นสูง
- ใช้ การรับรองความถูกต้องโดยใช้หลายปัจจัย (MFA) เพื่อป้องกันการละเมิดบัญชี การขอให้ผู้ใช้มีวิธีการลงชื่อเข้าใช้บัญชีมากกว่าหนึ่งวิธีเป็นวิธีง่ายๆ ที่ช่วยรักษาความปลอดภัยขององค์กร
- ตรวจสอบการป้องกันการโจมตีด้วยการละเมิดอีเมลระดับธุรกิจด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การปลอมแปลงและการเลียนแบบ
- ย้ายกระบวนการและธุรกรรมที่มีความเสี่ยงสูงไปยังระบบที่ผ่านการรับรองความถูกต้องมากขึ้น
ชนิดของภัยคุกคามทางอีเมล
องค์กรต้องเผชิญกับภัยคุกคามทางอีเมลที่ซับซ้อนจำนวนมาก ตั้งแต่การเข้าควบคุมบัญชีและการละเมิดอีเมลระดับธุรกิจไปจนถึงสเปียร์ฟิชชิ่งและวิชชิ่ง โดยทั่วไป ภัยคุกคามทางอีเมลจะอยู่ในชนิดกลุ่มเหล่านี้:
การลักลอบถ่ายโอนข้อมูล
การลักลอบถ่ายโอนข้อมูลคือการถ่ายโอนข้อมูลจากองค์กรโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ว่าจะโดยผู้ใช้หรือผ่านโปรแกรมที่เป็นอันตราย เกตเวย์อีเมลช่วยรับรองว่าธุรกิจจะสามารถหลีกเลี่ยงการส่งข้อมูลที่ละเอียดอ่อนโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งอาจนำไปสู่การรั่วไหลของข้อมูลที่มีค่าใช้จ่ายสูงได้
มัลแวร์
มัลแวร์ คือคำย่อของซอฟต์แวร์ที่เป็นอันตราย และมักจะมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความเสียหายหรือรบกวนคอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์ มัลแวร์ชนิดทั่วไป ประกอบด้วย ไวรัส หนอนไวรัส แรนซัมแวร์ และสปายแวร์
สแปม
สแปมคือข้อความอันไม่พึงประสงค์ที่ส่งเป็นจำนวนมากและไม่ได้รับความยินยอมจากผู้รับ ธุรกิจใช้อีเมลสแปมเพื่อวัตถุประสงค์เชิงพาณิชย์ นักต้มตุ๋นใช้สแปมเพื่อกระจายมัลแวร์ หลอกให้ผู้รับเปิดเผยข้อมูลที่ละเอียดอ่อน หรือข่มขู่ให้โอนเงิน
การเลียนแบบ
การเลียนแบบเกิดขึ้นเมื่ออาชญากรไซเบอร์เลียนแบบเป็นบุคคลหรือองค์กรที่น่าเชื่อถือเพื่อหลอกลวงให้โอนเงินหรือเปิดเผยข้อมูลผ่านอีเมล การละเมิดอีเมลระดับธุรกิจเป็นตัวอย่างหนึ่งที่นักต้มตุ๋นเลียนแบบเป็นพนักงานเพื่อขโมยจากบริษัท หรือลูกค้าและคู่ค้าของบริษัท
ฟิชชิ่ง
ฟิชชิ่ง คือการปลอมเป็นบุคคลหรือองค์กรที่น่าเชื่อถือเพื่อหลอกให้เหยื่อเปิดเผยข้อมูลอันมีค่า เช่น ข้อมูลประจำตัวการเข้าสู่ระบบและข้อมูลที่ละเอียดอ่อนชนิดอื่นๆ ฟิชชิ่งชนิดต่างๆ ได้แก่ สเปียร์ฟิชชิ่ง วิชชิ่ง และเวลลิ่ง
ชนิดของบริการรักษาความปลอดภัยอีเมล
บริการรักษาความปลอดภัยอีเมลช่วยให้บริษัทปกป้องบัญชีและการติดต่อสื่อสารทางอีเมลจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ วิธีที่ดีที่สุดในการปรับใช้การรักษาความปลอดภัยอีเมลของบริษัทคือการกำหนดและรักษานโยบายสำหรับการใช้อีเมลและการแชร์กับพนักงาน เพื่อให้พวกเขาตระหนักถึงแนวทางปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยอีเมล บริการรักษาความปลอดภัยอีเมลทั่วไปที่พร้อมใช้งานสำหรับบุคคลทั่วไป โรงเรียน ชุมชน และองค์กร ได้แก่:
- ความสามารถการยับยั้งที่สแกนอีเมลขาเข้า ขาออก และภายในเพื่อตรวจหาลิงก์และสิ่งที่แนบมาที่เป็นอันตราย
- การเข้ารหัสลับข้อมูลจะรักษาความปลอดภัยการติดต่อสื่อสารทางจดหมายจากการถูกสกัดโดยอาชญากรไซเบอร์
- ความสามารถการควบคุมภาพและเนื้อหาจะสแกนภาพและเนื้อหาที่แนบมาหรือฝังอยู่เพื่อตรวจหามัลแวร์ และบล็อกไม่ให้ผู้รับดาวน์โหลดได้
- ตัวกรองสแปมจะกรองอีเมลอันไม่พึงประสงค์ เช่น ข้อความที่ส่งเป็นจำนวนมากและสแปม
- ระบบการรับรองความถูกต้องจะประเมินความถูกต้องของผู้ส่ง
การป้องกันอีเมล
ภัยคุกคามทางอีเมลมีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้องค์กรต้องปรับใช้ระบบรักษาความปลอดภัยอีเมลที่มีเสถียรภาพเพื่อปกป้องข้อมูล ชื่อเสียง และรายได้สุทธิของตน ธุรกิจควรพิจารณาใช้โซลูชันการรักษาความปลอดภัยอีเมลที่มีการป้องกันภัยคุกคามที่ครบวงจรในแอป อุปกรณ์ อีเมล ข้อมูลประจำตัว ข้อมูล และปริมาณงานบนคลาวด์
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยอีเมล
การป้องกันภัยคุกคาม
ค้นหาวิธีการปกป้องทั้งองค์กรของคุณจากการโจมตีสมัยใหม่
การป้องกันอีเมล
ป้องกันภัยคุกคามขั้นสูง อย่างเช่น การล่วงละเมิดอีเมลระดับธุรกิจและการโจมตีฟิชชิ่ง
Zero Trust
เริ่มใช้วิธีการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์เชิงรุกด้วยเฟรมเวิร์ก Zero Trust เพื่อการป้องกันที่สมบูรณ์แบบ
คำถามที่ถามบ่อย
-
ทุกคนที่ใช้อีเมลต้องใช้การรักษาความปลอดภัยอีเมล บุคคล องค์กร และธุรกิจที่ใช้อีเมลทั้งหมดอาจตกเป็นเป้าหมายของ การโจมตีทางไซเบอร์ได้ หากไม่มีแผนและระบบการรักษาความปลอดภัยอีเมล ผู้ใช้อีเมลอาจตกเป็นเหยื่อของภัยคุกคาม เช่น การลักลอบถ่ายโอนข้อมูล มัลแวร์ ฟิชชิ่ง และสแปมได้
-
การโจมตีทางอีเมลทำให้บริษัทต้องเสียเงินหลายพันล้านดอลลาร์ในแต่ละปี ภัยคุกคามทางอีเมลที่ร้ายแรงที่สุด ได้แก่ การลักลอบถ่ายโอนข้อมูล การเลียนแบบ มัลแวร์ ฟิชชิ่ง และสแปม เนื่องจากสามารถสร้างผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อองค์กร โดยขึ้นอยู่กับขอบเขตและความรุนแรง
-
เมื่อส่งอีเมล อีเมลจะเดินทางผ่านเซิร์ฟเวอร์จำนวนหนึ่งก่อนที่จะไปถึงปลายทาง เซิร์ฟเวอร์คือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีซอฟต์แวร์และโพรโทคอลเซิร์ฟเวอร์จดหมายที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกับเครือข่ายและเรียกดูอินเทอร์เน็ตได้
เซิร์ฟเวอร์อีเมลที่ปลอดภัยจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับธุรกิจ เนื่องจากภัยคุกคามทางอีเมลยังคงพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง ต่อไปนี้คือวิธีการบางงส่วนในการส่งเสริมการรักษาความปลอดภัยของเซิร์ฟเวอร์อีเมลของคุณ:
- กำหนดค่าโพรโทคอล DomainKeys Identified Mail (DKIM) ซึ่งช่วยให้ผู้รับสามารถตรวจสอบได้ว่าเจ้าของโดเมนที่ถูกต้องเป็นผู้ส่งอีเมลใช่หรือไม่
- ตั้งค่าตัวเลือกรีเลย์จดหมายเพื่อไม่ให้เป็นรีเลย์แบบเปิด ซึ่งปล่อยให้สแปมหรือภัยคุกคามอื่นๆ เข้ามาได้ กำหนดค่ารีเลย์จดหมาย เพื่อให้มีเพียงผู้ใช้เท่านั้นที่สามารถส่งไปยังที่อยู่และโดเมนที่ต้องการได้
- ตั้งค่าเฟรมเวิร์กนโยบายตรวจสอบผู้ส่ง (SPF) เพื่อกำหนดที่อยู่ IP ที่สามารถส่งอีเมลจากโดเมนของคุณได้
- ใช้รายการบล็อกของ Domain Name System (DNSBL หรือรายการบล็อกของ DNS) เพื่อบล็อกอีเมลและโดเมนที่เป็นอันตราย
- ปรับใช้การรับรองความถูกต้องของข้อความที่ใช้โดเมน การรายงาน & ความสอดคล้อง (DMARC) เพื่อตรวจสอบโดเมนของคุณ
-
การเข้ารหัสลับอีเมลคือกระบวนการปกป้องข้อมูลที่ละเอียดอ่อนในอีเมลโดยแปลงจากข้อความธรรมดาที่อ่านง่ายเป็นข้อความที่มีการเข้ารหัสและสามารถอ่านได้เฉพาะผู้รับที่มีคีย์เท่านั้น
-
ต่อไปนี้คือคำถาม 5 ข้อที่จะช่วยทดสอบการรักษาความปลอดภัยอีเมลของคุณ:
1. คุณใช้รหัสผ่านอีเมลที่คาดเดาได้ยากที่ประกอบด้วยอักษรตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็ก ตัวเลข และอักขระพิเศษหรือไม่
2. คุณใช้การเข้ารหัสลับในการส่งข้อมูลที่ละเอียดอ่อนหรือไม่
3. คุณได้เปิดใช้งาน การรับรองความถูกต้องด้วยสองปัจจัย ซึ่งจำเป็นต้องป้อนปัจจัยการรับรองความถูกต้องสองปัจจัย (รหัสผ่านหรือรหัสที่สร้างขึ้นโดยอุปกรณ์เคลื่อนที่) หรือไม่
4. คุณได้ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสบนอุปกรณ์ของคุณหรือไม่
5. คุณหยุดชั่วคราวและสแกนสิ่งที่แนบมาและลิงก์ก่อนที่คุณจะเปิดหรือคลิกหรือไม่
ติดตาม Microsoft Security