Trace Id is missing
ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก
ความยั่งยืน

ทรัพยากรและเทคโนโลยีด้านการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน

การจัดการน้ำอย่างยั่งยืนคือการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างมีความรับผิดชอบเพื่อให้ทั้งคนรุ่นปัจจุบันและรุ่นอนาคตมีน้ำไว้ใช้งาน พร้อมกับรักษาสถานภาพของระบบนิเวศ

การจัดการน้ำอย่างยั่งยืนคืออะไร

การจัดการน้ำอย่างยั่งยืนคือการจัดการอย่างระมัดระวังและการใช้ทรัพยากรน้ำจืดอย่างมีความรับผิดชอบ เพื่อตอบสนองความต้องการทั้งของคนรุ่นปัจจุบันและคนรุ่นอนาคต ซึ่งครอบคลุมถึงการป้องกันและการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำจืด การใช้ทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในภายในประเทศ ในการเกษตร ในเทศบาล และในอุตสาหกรรม รวมถึงการผสานรวมการจัดการน้ำเข้ากับความยั่งยืนด้านอื่นๆ

การจัดการน้ำอย่างยั่งยืนนั้นมีหลักการหลักๆ อยู่สองประการด้วยกัน ประการแรกคือน้ำสะอาดเป็นทรัพยากรล้ำค่าแต่มีจํากัด และประการที่สองคือทุกคนและองค์กรควรทําทุกอย่างที่ทําได้เพื่อประหยัดน้ำ ในระดับบุคคล อาจเป็นการติดตั้งหัวรับน้ำไหลต่ำหรือการเก็บเกี่ยวน้ำฝน ในระดับเทศบาล อาจเป็นการรณรงค์อนุรักษ์สาธารณะในการคาดการณ์ว่าจะเกิดความแห้งแล้ง หรือการตรวจสอบให้แน่ใจว่าโรงงานบําบัดน้ำเสียนั้นจะไม่ได้รับผลกระทบจากฝนตกหนัก

และองค์กรยังมีส่วนรับผิดชอบในการจัดการทรัพยากรน้ำจืดด้วย ในระดับเชิงพาณิชย์ การจัดการน้ำอย่างยั่งยืนอาจเป็นการตรวจสอบการใช้น้ำ การนำเทคโนโลยีทางน้ำที่มีประสิทธิภาพ (เช่น ห้องสุขาและก๊อกน้ำไหลต่ำ) มาใช้ การรีไซเคิลน้ำในอาคารขององค์กร และการร่วมมือกับชุมชนท้องถิ่นเพื่อนํานโยบายการจัดการน้ำที่ยั่งยืนมาใช้ 

ในบทความนี้ เราจะมาสํารวจแนวคิดของการจัดการน้ำอย่างยั่งยืนและความสําคัญของน้ำเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น การเติบโตทางเศรษฐกิจ และความเสมอภาคทางสังคม นอกจากนี้ เราจะกล่าวถึงเทคโนโลยีต่างๆ ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีไอทีและระบบคลาวด์ที่ช่วยสนับสนุนความพยายามในการอนุรักษ์น้ำได้โดยตรง

ความสําคัญของการอนุรักษ์และการเก็บรักษาน้ำ

น้ำคือหนึ่งในทรัพยากรที่สําคัญที่สุดในโลกของเรา ทั้งด้านชีวิตที่ยั่งยืน อุตสาหกรรม และการเกษตร อย่างไรก็ตาม เนื่องด้วยประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก ความต้องการใช้น้ำก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ความจำเป็นในการจัดการน้ำอย่างยั่งยืนไม่เคยสำคัญเท่านี้มาก่อน เพราะไม่เพียงแค่ช่วยลดการขาดแคลนน้ำและมลพิษ แต่ยังช่วยส่งเสริมสุขภาพ การเติบโตทางเศรษฐกิจ และความเสมอภาคทางสังคมอีกด้วย 

ในระดับบุคคล การมีน้ำใช้อย่างยั่งยืนคือการที่ทุกคนสามารถมีน้ำอย่างน้อย 50-100 ลิตรให้ใช้ในแต่ละวันเพื่อดำรงชีวิต แต่มีการพิสูจน์แล้วว่าการจะทําสิ่งนี้ได้นั้นค่อนข้างยากลำบาก องค์การอนามัยโลกแจ้งว่าผู้คนกว่า เรื่องราวของสหประชาชาติเกี่ยวกับผู้คน 2.2 พันล้านคน2.2 พันล้านคนไม่สามารถเข้าถึงน้ำดื่มที่ปลอดภัยได้ และอีก 4.2 พันล้านคนนั้นไม่มีบริการสุขาภิบาลเลย นอกจากนี้ ทางสหประชาชาติประเมินว่าภายในปี 2025 ประชากรโลกสองในสามอาจได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนน้ำ 

การอนุรักษ์และการเก็บรักษาน้ำนั้นช่วยลดความต้องการใช้น้ำและลดการสูญเสียน้ำได้ สาเหตุบางประการที่ทําให้การอนุรักษ์และการเก็บรักษานี้มีความสําคัญมาก ได้แก่

  • สุขภาพของมนุษย์:

    การเข้าถึงน้ำสะอาดที่ปลอดภัยคือเรื่องจําเป็นสําหรับสุขภาพของมนุษย์ การดื่มน้ำที่ยังไม่ได้รับการทําความสะอาดอาจทําให้เกิดการแพร่กระจายของโรคที่เกิดจากน้ำ เช่น อหิวาตกโรค ไทฟอยด์ และโรคบิด ซึ่งอาจถึงแก่ชีวิตได้ การส่งเสริมการจัดการน้ำอย่างยั่งยืนคือขั้นตอนแรกที่สําคัญในการสร้างโลกที่ทุกคนสามารถเข้าถึงน้ำที่ปลอดภัยและสะอาด ลดความเสี่ยงของโรคทางน้ำ และปรับปรุงสุขภาพโดยรวมได้

  • การเติบโตทางเศรษฐกิจ:

    น้ำคือทรัพยากรสําคัญสําหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีส่วนช่วยสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ เช่น การเกษตร อุตสาหกรรม และการผลิตพลังงาน แต่การขาดแคลนน้ำอาจจํากัดการพัฒนาทางเศรษฐกิจได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคที่มีทรัพยากรน้ำจํากัด การส่งเสริมการอนุรักษ์น้ำช่วยให้เราสามารถตรวจสอบให้แน่ใจได้ว่ามีการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพ ซึ่งช่วยให้สามารถเติบโตและพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนได้

  • ความเสมอภาคทางสังคม:

    การขาดแคลนน้ำทําให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคมอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่ผู้หญิงและเด็กผู้หญิงต้องใช้เวลาในแต่ละวันไปกับการรวบรวมน้ำสําหรับครอบครัวของตน การส่งเสริมการจัดการน้ำอย่างยั่งยืนนี้ช่วยให้เรามั่นใจได้ว่าผู้คนจํานวนมากขึ้นจะสามารถเข้าถึงทรัพยากรน้ำได้ โดยไม่คํานึงถึงสถานะทางสังคมหรือตําแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของตน

หากต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการดําเนินการของ Microsoft ในอนาคตของน้ำเป็นบวก ให้สํารวจทรัพยากรด้านความยั่งยืนใน รายงานความยั่งยืนด้านสภาพแวดล้อมฉบับนี้

ความท้าทายของการจัดการน้ำ

การจัดการน้ำอย่างยั่งยืนก่อให้เกิดความท้าทายอันยิ่งใหญ่มากมายที่ต้องมีการดําเนินการประสานงาน และกลายเป็นเรื่องเร่งด่วนมากขึ้นในทุกๆ วัน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ขัดขวางวงจรน้ำ ซึ่งส่งผลให้มีแหล่งน้ำที่ไม่สามารถคาดเดาได้ และเกิดความแห้งแล้งและน้ำท่วมบ่อยขึ้น ความต้องการในการขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็ว การเติบโตของประชากร และการทำอุตสาหกรรมก็ยังเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบอย่างมากต่อทรัพยากรน้ำ ซึ่งนําไปสู่การขาดแคลนและก่อให้เกิดมลพิษ นอกจากนี้ การลงทุนที่ไม่เพียงพอในโครงสร้างพื้นฐานของน้ำนั้นก็ก่อให้เกิดอุปสรรคที่สําคัญด้วย

หนึ่งในอุปสรรคที่สําคัญที่สุดในการจัดการน้ำอย่างยั่งยืนในภาคการค้าคือความเชื่อที่ว่าเป้าหมายทางธุรกิจนั้นไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับความพยายามด้านความยั่งยืน สาเหตุหลายประการที่ทําให้องค์กรต่างๆ อาจประสบปัญหาในการตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ด้านการจัดการน้ำอย่างยั่งยืนมีดังนี้

  • การรับรู้ที่จํากัด: หลายองค์กรอาจขาดความเข้าใจที่ครอบคลุมเกี่ยวกับความสําคัญของการจัดการน้ำอย่างยั่งยืนและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับแนวทางปฏิบัติด้านน้ำที่ไม่ยั่งยืน หากไม่มีความเข้าใจในเรื่องนี้ อาจส่งผลให้ขัดขวางความพยายามในการสร้างแนวทางปฏิบัติด้านการจัดการน้ำที่ยั่งยืนได้
  • โฟกัสระยะสั้น: หลายองค์กรให้ความสําคัญเป้าหมายระยะสั้นมากกว่าวัตถุประสงค์ด้านความยั่งยืนระยะยาว ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดแนวทางปฏิบัติทางน้ำที่ไม่ยั่งยืนที่อาจให้ประโยชน์ในระยะสั้น แต่ก่อให้เกิดความเสี่ยงในระยะยาว
  • ลําดับความสําคัญที่ขัดแย้งกัน: ในหลายๆ องค์กร อาจไม่ได้ให้ความสำคัญกับเป้าหมายด้านความยั่งยืนมากเท่าวัตถุประสงค์ทางธุรกิจอื่นๆ เช่น การเติบโตของรายได้ การลดต้นทุน และความสามารถในการทํากําไร ซึ่งอาจนําไปสู่การขาดทรัพยากรและความสนใจต่อความพยายามด้านความยั่งยืน
  • การขาดความรับผิดชอบและความเป็นเจ้าของงบประมาณ: หลายองค์กรอาจไม่มีโครงสร้างด้านความรับผิดชอบที่ชัดเจนในการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน ซึ่งอาจส่งผลให้ขาดความเป็นเจ้าของและความรับผิดชอบในการบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน
  • การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องที่จํากัด: ความพยายามด้านการจัดการน้ำอย่างยั่งยืนที่ประสบความสําเร็จนั้นจําเป็นต้องให้ผู้เกี่ยวข้องมากมาย ได้แก่ ซัพพลายเออร์ ลูกค้า พนักงาน และชุมชนท้องถิ่น นั้นได้มีส่วนร่วมด้วย แต่องค์กรอาจไม่มีกลยุทธ์การมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิภาพหรืออาจไม่ตระหนักถึงความสําคัญของการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องเหล่านี้
  • ความท้าทายด้านกฎระเบียบและนโยบาย: เฟรมเวิร์กด้านกฎระเบียบและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการน้ำอย่างยั่งยืนอาจซับซ้อนและกระจัดกระจาย ซึ่งทําให้องค์กรชี้นําและปฏิบัติตามกฎระเบียบเหล่านั้นได้ยาก
  • การขาดข้อมูลและตัวชี้วัด: หากไม่มีข้อมูลและตัวชี้วัดที่ถูกต้อง องค์กรอาจประสบปัญหาในการระบุโอกาสในการปรับปรุง วัดผลความคืบหน้า และรายงานเกี่ยวกับประสิทธิภาพด้านความยั่งยืน

การแก้ไขปัญหาเหล่านี้ต้องใช้วิธีการแบบองค์รวมที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความตระหนักรู้ถึงการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน การสร้างโครงสร้างความรับผิดชอบที่ชัดเจน การให้ผู้เกี่ยวข้อง ผู้ควบคุม และผู้กําหนดนโยบายได้มีส่วนร่วม การให้ความสําคัญกับเป้าหมายด้านความยั่งยืนในระยะยาว และการลงทุนในด้านความเชี่ยวชาญและเทคโนโลยีการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน 

Microsoft Cloud for Sustainability ช่วยให้องค์กรสามารถเร่งความก้าวหน้าด้านความยั่งยืนและการเติบโตของธุรกิจได้โดยรวบรวมความสามารถด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกํากับดูแลเข้าไว้ด้วยกันในพอร์ตโครงการระบบคลาวด์ของ Microsoft 

คุณสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ Microsoft Cloud for Sustainability ได้ในบทความนี้

บทบาทของรัฐบาลในเรื่องการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน

รัฐบาลเทศบาลมีบทบาทสําคัญในการตรวจสอบการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน ซึ่งถือเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลในการพัฒนาและปรับใช้นโยบาย กฎหมาย และข้อบังคับที่ส่งเสริมแนวทางปฏิบัติในการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ยังสามารถให้เงินทุนสําหรับโครงสร้างพื้นฐานของน้ำและการพัฒนาเทคโนโลยีการจัดการน้ำอย่างยั่งยืนใหม่ๆ ได้อีกด้วย

หน่วยงานภาครัฐยังช่วยรับรองการจัดการน้ำอย่างยั่งยืนในระดับรัฐบาลกลางอีกด้วย ในสหรัฐอเมริกา สํานักงานปกป้องสิ่งแวดล้อม (EPA) จะช่วยควบคุมคุณภาพน้ำและกําหนดมาตรฐานแห่งชาติสําหรับการดูแลจัดการน้ำดื่มและน้ำเสีย นอกจากนี้ EPA ยังให้เงินทุนและการสนับสนุนสําหรับโครงการโครงสร้างพื้นฐานของน้ำขนาดใหญ่ผ่านโปรแกรมต่างๆ เช่น กองทุนหมุนเวียนของรัฐสำหรับน้ำสะอาดกองทุนหมุนเวียนของรัฐสำหรับน้ำสะอาด

ตัวอย่างอื่นๆ ของวิธีที่รัฐบาลช่วยส่งเสริมการอนุรักษ์และการใช้งานน้ำอย่างยั่งยืนในระดับเทศบาล ได้แก่

  • การพัฒนาแผนการจัดการน้ำ: รัฐบาลสามารถสร้างแผนและกลยุทธ์สําหรับการจัดการทรัพยากรน้ำได้อย่างยั่งยืน โดยพิจารณาการเติบโตของประชากร การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และปัจจัยอื่นๆ ซึ่งรวมถึงการประเมินปริมาณน้ำผิวดินและน้ำบาดาลและการจัดการปัญหาคุณภาพต่างๆ ทั้งหมดด้วย
  • การบังคับใช้กฎระเบียบ: รัฐบาลสามารถบังคับใช้กฎหมายและกฎระเบียบเพื่อป้องกันมลพิษทางน้ำ ควบคุมการใช้น้ำ และตรวจสอบให้แน่ใจว่าทรัพยากรน้ำได้รับการจัดการอย่างยั่งยืน
  • การให้ความรู้แก่สาธารณชน: รัฐบาลสามารถให้ความรู้แก่สาธารณชนเกี่ยวกับความสําคัญของการประหยัดน้ำและวิธีการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการใช้การรณรงค์และโครงการเพื่อการรับรู้ของสาธารณชน
  • การประสานงานด้านการจัดการน้ำ: รัฐบาลสามารถช่วยอํานวยความสะดวกในการประสานงานระหว่างผู้เกี่ยวข้องแต่ละรายได้ ซึ่งรวมถึงชุมชน ธุรกิจ และภาครัฐระดับอื่นๆ เพื่อให้แน่ใจว่าการตัดสินใจในการจัดการน้ำนั้นมีความโปร่งใส พร้อมทั้งครอบคลุมและตรงตามความต้องการของทุกคน
  • การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของน้ำ: รัฐบาลสามารถลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของน้ำ เช่น โรงงานบำบัดน้ำเสีย เขื่อน อ่างเก็บน้ำ และระบบการประปา เพื่อให้แน่ใจว่าผู้คนสามารถเข้าถึงน้ำสะอาดที่ปลอดภัยได้ ซึ่งรวมถึงการวางแผนแบบปรับเปลี่ยนได้เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด

เนื่องจากการขาดแคลนน้ำกลายเป็นปัญหาที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทางรัฐบาลจึงมีแนวโน้มที่จะให้ความสําคัญกับการนําเทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสียและการนําน้ำกลับมาใช้ใหม่อย่างยั่งยืนมาใช้งานจริง ตัวอย่างเช่น การแยกเกลือออกจากน้ำ อีกโอกาสหนึ่งคือการพัฒนาระบบน้ำอัจฉริยะแบบกระจายศูนย์ ระบบน้ำแบบกระจายศูนย์ช่วยให้อาคารบ้านเรือนสามารถสร้างน้ำและนำน้ำของตนกลับมาใช้ซ้ำได้ ซึ่งก่อให้เกิดแนวโน้มที่ดีในการลดภาระของระบบส่วนกลางและเพิ่มความน่าเชื่อถือและประสิทธิภาพได้

เทคโนโลยีการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน

มีเทคโนโลยีการจัดการน้ำอย่างยั่งยืนมากมายที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้ชุมชนจัดการน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดของเสีย และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของการใช้น้ำ อันที่จริงแล้วผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับน้ำเป็นจุดสนใจของตลาดโลกที่มีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์

เทคโนโลยีน้ำส่วนใหญ่ทําให้เกิดความก้าวหน้าของการประปาและการส่งน้ำ รวมถึงทุกสิ่งอย่างตั้งแต่อุปกรณ์บำบัดน้ำไปจนถึงการดำเนินงานที่ใช้น้ำเพื่อสร้างพลังงานสะอาด เทคโนโลยีน้ำบางประเภทมีดังต่อไปนี้

  • การแยกเกลือออกจากน้ำ: เทคโนโลยีการแยกเกลือออกจากน้ำถูกคิดค้นขึ้นสำหรับกระบวนการแยกเกลือและแร่ธาตุอื่นๆ ออกจากน้ำทะเลหรือน้ำกร่อย ซึ่งช่วยทําให้น้ำเหมาะกับการบริโภคของมนุษย์และการใช้งานอื่นๆ เทคโนโลยีการแยกเกลือออกจากน้ำนั้นมีศักยภาพที่จะมอบแหล่งน้ำจืดที่เชื่อถือได้ในภูมิภาคที่ขาดแคลนน้ำ แต่ต้องใช้พลังงานมากและอาจมีราคาสูง
  • การทำน้ำให้บริสุทธิ์: เทคโนโลยีการทำน้ำให้บริสุทธิ์ช่วยขจัดสิ่งสกปรก สิ่งปนเปื้อน และสิ่งไม่พึงประสงค์อื่นๆ ออกจากน้ำ เพื่อปรับปรุงความปลอดภัยของน้ำดื่ม ลดความเสี่ยงของการป่วยจากน้ำ และทําให้น้ำเหมาะกับการใช้งานทางอุตสาหกรรมและการเกษตร
  • ผลผลิตทางน้ำ: หลายๆ เทคโนโลยีได้รับการพัฒนามาเพื่อสร้างคุณค่าในอุตสาหกรรมการเกษตรผ่านการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เทคโนโลยีประเภทนี้รวมถึงระบบน้ำหยดซึ่งเป็นวิธีการเพิ่มผลผลิตโดยการส่งน้ำไปยังรากของพืชผลโดยตรง และระบบชลประทานอัจฉริยะที่ช่วยกําหนดปริมาณน้ำที่เหมาะกับพืชผลแต่ละสายพันธุ์
  • การประหยัดน้ำ: เราสามารถประหยัดน้ำในครัวเรือนได้ผ่านเทคโนโลยีต่างๆ เช่น มาตรวัดน้ำอัจฉริยะ ระบบตรวจจับการรั่วไหล และอุปกรณ์ประหยัดน้ำ ระบบเหล่านี้ทํางานร่วมกันเพื่อช่วยลดของเสียโดยวัดและควบคุมการใช้น้ำ และแจ้งเตือนให้ซ่อมแซมหากมีบางอย่างทํางานไม่ถูกต้อง
  • การเก็บเกี่ยวน้ำ: ระบบเก็บเกี่ยวน้ำฝนจะรวบรวมน้ำฝนจากหลังคาและพื้นผิวอื่นๆ เพื่อใช้ในระบบชลประทานและการใช้งานอื่นๆ ที่ไม่สามารถบริโภคได้ แนวทางปฏิบัตินี้ช่วยลดความต้องการใช้น้ำของเทศบาล ลดการไหลบ่าและการกัดเซาะ และเพิ่มความสามารถในการรับมือกับฤดูแล้ง
  • น้ำและพลังงาน: น้ำมีบทบาทสําคัญในการสร้างพลังงานสะอาดผ่านเทคโนโลยีพลังงานน้ำและไฮโดรคิเนติกส์ ทั้งเทคโนโลยีพลังงานน้ำและไฮโดรคิเนติกส์นั้นเป็นพลังงานหมุนเวียน ซึ่งถือเป็นแหล่งพลังงานสะอาดคาร์บอนต่ำ
  • น้ำและระบบไอที: ระบบไอทีมีบทบาทสําคัญในการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน โดยช่วยให้สามารถรวบรวม วิเคราะห์ และแบ่งปันข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรน้ำและการจัดการน้ำได้ นอกจากนี้ ระบบไอทียังช่วยสนับสนุนการตัดสินใจด้วยแบบจําลองคาดการณ์ การจําลองสถานการณ์ และการวิเคราะห์สถานการณ์ เพื่อปรับกลยุทธ์การจัดการน้ำให้เหมาะสม ปรับปรุงการจัดสรรทรัพยากร และเพิ่มความสามารถในการรับมือกับอุปสรรคทางน้ำ เช่น ความแห้งแล้งและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

การจัดการน้ำอย่างยั่งยืนและระบบไอที

ระบบไอทีมีบทบาทสําคัญในการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีระบบคลาวด์ที่สามารถช่วยให้องค์กรสามารถปรับการใช้น้ำให้เหมาะสม ลดของเสีย ปรับปรุงประสิทธิภาพ และเพิ่มความสามารถในการรับมือกับความเสี่ยงทางน้ำ เนื่องด้วยโซลูชันบนระบบคลาวด์ที่มีให้ใช้งานเพิ่มขึ้นและมีราคาเข้าถึงได้มากขึ้น ช่วยให้องค์กรทุกขนาดทุกภาคส่วนสามารถใช้ความสามารถของเทคโนโลยีระบบคลาวด์เพื่อก้าวสู่เป้าหมายการจัดการน้ำอย่างยั่งยืนได้

ภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากเทคโนโลยีระบบคลาวด์ ได้แก่

  • การรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูล: สามารถใช้เทคโนโลยีระบบคลาวด์ในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้น้ำ คุณภาพน้ำ และตัวชี้วัดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้ โดยสามารถใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อระบุโอกาสในการปรับปรุง ติดตามตรวจสอบความคืบหน้า และแจ้งการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน
  • การติดตามตรวจสอบในเวลาจริง: เทคโนโลยีระบบคลาวด์ช่วยให้สามารถติดตามตรวจสอบและควบคุมระบบน้ำจากระยะไกล เช่น ระบบชลประทาน โรงงานบําบัดน้ำเสีย และเครือข่ายจ่ายน้ำประปาได้ ซึ่งช่วยให้หลายองค์กรสามารถปรับการใช้น้ำให้เหมาะสม ลดการสูญเสียน้ำ และปรับปรุงประสิทธิภาพได้
  • การทํางานร่วมกันและการมีส่วนร่วม: เทคโนโลยีระบบคลาวด์ช่วยอํานวยความสะดวกในการทํางานร่วมกันและการมีส่วนร่วมระหว่างผู้เกี่ยวข้องต่างๆ ได้แก่ ซัพพลายเออร์ ลูกค้า พนักงาน และชุมชนท้องถิ่น ซึ่งสามารถช่วยให้หลายองค์กรสร้างความร่วมมือ แบ่งปันแนวทางปฏิบัติ และสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน
  • การวิเคราะห์เชิงทํานายและการสร้างแบบจําลอง: เทคโนโลยีระบบคลาวด์ช่วยให้สามารถวิเคราะห์เชิงทํานายและสร้างแบบจำลองเพื่อคาดการณ์ความต้องการใช้น้ำ ระบุความเสี่ยงและโอกาสที่อาจเกิดขึ้น และปรับกลยุทธ์การลดการใช้น้ำให้เหมาะสม
  • การรายงานและความโปร่งใสในเวลาจริง: เทคโนโลยีระบบคลาวด์สามารถจัดทำรายงานในเวลาจริงเกี่ยวกับการใช้น้ำ คุณภาพน้ำ และตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ผ่านการใช้ระบบข้อมูลทางภูมิศาสตร์ เซนเซอร์อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง และ AI
  • การปรับทรัพยากรให้เหมาะสม: เทคโนโลยีระบบคลาวด์สามารถช่วยให้องค์กรปรับการใช้ทรัพยากรของตนให้เหมาะสมได้ เช่น พลังงาน สารเคมี และวัสดุในกระบวนการจัดการน้ำ ซึ่งช่วยลดของเสียและปรับปรุงประสิทธิภาพได้
  • ความสามารถในการรับมือกับปัญหาที่ดียิ่งขึ้น: เทคโนโลยีระบบคลาวด์ช่วยปรับปรุงความสามารถในการรับมือกับปัญหาเกี่ยวกับระบบน้ำได้ โดยมอบความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลซ้ำซ้อนและการกู้คืนจากภัยพิบัติ ซึ่งช่วยให้มั่นใจได้ถึงความต่อเนื่องของบริการเกี่ยวกับน้ำเมื่อต้องประสบกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ การโจมตีทางไซเบอร์ และการหยุดชะงักอื่นๆ

ทรัพยากรที่ยั่งยืน

Microsoft ให้คำมั่นสัญญาว่าจะทำให้น้ำเป็นบวกภายในปี 2030 นอกจากนี้ Microsoft ยังได้นําความคิดริเริ่มและเทคโนโลยีหลายอย่างที่สนับสนุนความพยายามด้านการจัดการน้ำอย่างยั่งยืนทั่วโลกมาใช้อีกด้วย ซึ่งได้แก่

Microsoft Cloud for Sustainability

รวบรวมข้อมูลข่าวกรอง สร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีที่ยั่งยืน สร้างห่วงโซ่คุณค่าที่ยั่งยืน และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของการดําเนินการต่างๆ ด้วย Microsoft Cloud for Sustainability โซลูชันนี้มีความสามารถใหม่ๆ ที่ช่วยให้องค์กรสามารถติดตามข้อกําหนดในการรายงานและยกระดับการจัดทำบัญชีน้ำได้

Microsoft Sustainability Manager

Microsoft Sustainability Manager ซึ่งเป็นโซลูชัน Microsoft Cloud for Sustainability อย่างหนึ่ง ช่วยให้แต่ละองค์กรสามารถใช้วิธีการที่ยืดหยุ่นซึ่งยึดถือข้อมูลเป็นหลักในการจัดการน้ำอย่างยั่งยืนผ่านการรวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่ง การแสดงภาพข้อมูล การวิเคราะห์ และการรายงาน

AI for Earth

โปรแกรมนี้ให้เงินทุนและทรัพยากรแก่บุคลากรและองค์กรที่ทํางานเกี่ยวกับโซลูชันสําหรับความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมทั่วโลก รวมถึงการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน โปรแกรมนี้ให้การสนับสนุนโครงการที่ใช้ AI และเทคโนโลยีขั้นสูงอื่นๆ เพื่อปรับปรุงการจัดการ การติดตามตรวจสอบ และการอนุรักษ์น้ำ

Water Risk Monetizer

เครื่องมือนี้ซึ่งพัฒนาโดย Microsoft ร่วมกับ Ecolab และ Trucost ช่วยให้ธุรกิจสามารถประเมินผลกระทบทางการเงินจากปัญหาการขาดแคลนน้ำและมลพิษในการดําเนินงานและห่วงโซ่อุปทานของตน

Water Resilience Coalition

Water Resilience Coalition (แนวร่วมรับมือปัญหาเกี่ยวกับน้ำ) ซึ่งเปิดตัวในปี 2020 คือโครงการแผนริเริ่มของ CEO Water Mandate จาก UN Global Compact โดยมีบริษัทกว่า 16 แห่ง รวมถึง Microsoft เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง และได้ให้คํามั่นว่าจะร่วมกันจัดการปัญหาเกี่ยวกับน้ำ

Azure Data Manager for Agriculture

Azure Data Manager for Agriculture ช่วยขยายแพลตฟอร์มข้อมูลอัจฉริยะของ Microsoft ด้วยตัวเชื่อมต่อข้อมูลเฉพาะอุตสาหกรรมและความสามารถต่างๆ ในการเชื่อมต่อข้อมูลฟาร์มจากแหล่งข้อมูลหลายแห่ง

นอกเหนือจากเทคโนโลยีและโครงการแผนริเริ่มเหล่านี้แล้ว Microsoft ยังได้พัฒนาทรัพยากรมากมายที่ออกแบบมาเพื่อให้การสนับสนุนบุคลากร องค์กร และรัฐบาลในการเดินทางสู่การจัดการน้ำอย่างยั่งยืน ตัวอย่างที่ควรค่าแก่การดู ได้แก่

คลื่นกระแทกหน้าผา

ศูนย์การเรียนรู้ของ Microsoft Sustainability

ค้นหาข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับหัวข้อและเทคโนโลยีความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม เยี่ยมชมศูนย์เพื่อเรียกดูวิดีโอ เอกสารทางเทคนิค การฝึกอบรม และแหล่งข้อมูลอื่นๆ จาก Microsoft และผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม

เทือกเขาสองแห่งที่มีหุบเขาเขียวชอุ่มอยู่ระหว่างภูเขา

คู่มือ Microsoft Sustainability

รับคําแนะนําและข้อมูลเกี่ยวกับโซลูชันของ Microsoft Sustainability ที่คุณสามารถใช้เพื่อลดการใช้ทรัพยากรและของเสีย สร้างความน่าเชื่อถือของแบรนด์ และเพิ่มอัตราส่วนกําไรใน E-book ด้านความยั่งยืนฉบับนี้ เรียนรู้วิธีการประเมินฟุตปริ้นต์ด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กรคุณ เร่งความก้าวหน้าไปสู่เป้าหมายที่ยั่งยืน และปรับเปลี่ยนองค์กรของคุณให้ดียิ่งขึ้น

คนกําลังขับรถแทรกเตอร์ผ่านฟาร์มแห่งหนึ่ง

Microsoft Unlocked

อ่านเรื่องราวจากใจกลางและจิตวิญญาณแห่งนวัตกรรม รวมถึงบทความเกี่ยวกับทุกสิ่งอย่าง ตั้งแต่อนาคตของการเกษตรไปจนถึงการสร้างอนาคตน้ำเป็นบวกในซิลิคอนวัลเลย์

เร่งการเดินทางสู่ความยั่งยืนของคุณ

ไม่ว่าคุณจะอยู่จุดใดบนเส้นทางสู่การจัดการน้ำอย่างยั่งยืน Microsoft Cloud for Sustainability ก็สามารถช่วยคุณเร่งความคืบหน้าและแปลงโฉมธุรกิจของคุณด้วยความสามารถด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกํากับดูแลได้

คำถามที่ถามบ่อย

  • การจัดการน้ำอย่างยั่งยืนคือการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างมีความรับผิดชอบเพื่อให้ทั้งคนรุ่นปัจจุบันและรุ่นอนาคตมีน้ำไว้ใช้งาน พร้อมกับรักษาสถานภาพของระบบนิเวศ

    ซึ่งครอบคลุมถึงการป้องกันและการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำจืด การใช้ทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในภายในประเทศ ในการเกษตร ในเทศบาล และในอุตสาหกรรม รวมถึงการผสานรวมการจัดการน้ำเข้ากับความยั่งยืนด้านอื่นๆ

  • การอนุรักษ์น้ำช่วยลดการขาดแคลนน้ำและมลพิษได้ พร้อมทั้งส่งเสริมสุขภาพ การเติบโตทางเศรษฐกิจ และความเท่าเทียมทางสังคมด้วย น้ำคือหนึ่งในทรัพยากรที่สําคัญที่สุดในโลกของเรา ทั้งด้านชีวิตที่ยั่งยืน อุตสาหกรรม และการเกษตร หากปราศจากน้ำ ก็คงไร้ชีวิตที่ดำรงอยู่ได้

  • มีอุปสรรคมากมายในการบรรลุการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน ซึ่งได้แก่

    • การหยุดชะงักของวงจรน้ำ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
    • การขยายตัวของเมือง การทำอุตสาหกรรม และการเติบโตของประชากรอย่างรวดเร็ว
    • การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของน้ำที่ไม่เพียงพอ
    • ความยากลําบากในการทำให้หลายๆ องค์กรรับผิดชอบต่อการใช้น้ำ

    การแก้ไขปัญหาเหล่านี้ต้องใช้วิธีการแบบองค์รวมที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความตระหนักรู้ถึงการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน การสร้างโครงสร้างความรับผิดชอบที่ชัดเจน การให้ผู้เกี่ยวข้อง ผู้ควบคุม และผู้กําหนดนโยบายได้มีส่วนร่วม การให้ความสําคัญกับเป้าหมายด้านความยั่งยืนในระยะยาว และการลงทุนในด้านความเชี่ยวชาญและเทคโนโลยีการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน

  • มีเทคโนโลยีการจัดการน้ำอย่างยั่งยืนมากมายที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้ชุมชนจัดการน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดของเสีย และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของการใช้น้ำ เทคโนโลยีน้ำส่วนใหญ่ช่วยก่อให้เกิดความก้าวหน้าของการบําบัดน้ำและการส่งมอบน้ำ เทคโนโลยีเหล่านี้ประกอบด้วย:

    • เทคโนโลยีการแยกเกลือออกจากน้ำ
    • เทคโนโลยีการทำน้ำให้บริสุทธิ์
    • เทคโนโลยีผลผลิตทางน้ำ
    • เทคโนโลยีการประหยัดน้ำ
    • เทคโนโลยีการเก็บเกี่ยวน้ำ
    • เทคโนโลยีพลังงานน้ำและไฮโดรคิเนติกส์

     

    นอกจากนี้ เทคโนโลยีระบบไอทีและระบบคลาวด์ยังช่วยอํานวยความสะดวกในการจัดการน้ำอย่างยั่งยืนผ่าน:

    • การรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูล
    • การติดตามตรวจสอบในเวลาจริง
    • การทํางานร่วมกันและการมีส่วนร่วม
    • การวิเคราะห์เชิงทํานายและการสร้างแบบจําลอง
    • การรายงานและความโปร่งใสในเวลาจริง
    • การปรับทรัพยากรให้เหมาะสม
    • ความสามารถในการรับมือกับปัญหา
  • รัฐบาลเทศบาลมีบทบาทสําคัญในการตรวจสอบการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน ซึ่งถือเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลในการพัฒนาและปรับใช้นโยบาย กฎหมาย และข้อบังคับที่ส่งเสริมแนวทางปฏิบัติในการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ยังสามารถให้เงินทุนสําหรับโครงสร้างพื้นฐานของน้ำและการพัฒนาเทคโนโลยีการจัดการน้ำอย่างยั่งยืนใหม่ๆ ได้อีกด้วย หน่วยงานภาครัฐยังช่วยรับรองการจัดการน้ำอย่างยั่งยืนในระดับรัฐบาลกลางอีกด้วย

    ตัวอย่างของวิธีที่รัฐบาลช่วยส่งเสริมการอนุรักษ์และการใช้งานน้ำอย่างยั่งยืน ได้แก่

    • การพัฒนาแผนการจัดการน้ำ
    • การบังคับใช้กฎระเบียบ
    • การให้ความรู้แก่สาธารณชน
    • การประสานงานด้านการจัดการน้ำ
    • การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของน้ำ

ติดตาม Microsoft